วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลของการออกกำลังกาย


ผลทางสรีระวิทยาของการออกกำลังกาย
1. การปรับตัวในระยะแรก (response) ขณะที่กำลังออกกำลังกายหรือหลังการออกกำลังกายทันที จะพบว่า มีชีพจรเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อหยุดออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงก็จะกลับเป็นเหมือนเดิม
2. การปรับตัวในระยะหลัง (adaptation or training effect) การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ต้องใช้เวลาในการออกกำลังกายนาน และสม่ำเสมอจึงจะเกิดผล และผลที่เกิดขึ้นจะไม่หายไป หลังจากการออกกำลังกาย ผลจากการปรับตัวแบบนี้ คือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการในการฝึกผู้ป่วยให้ออกกำลังเพื่อการบำบัดรักษา

ตัวอย่างผลของการออกกำลังกาย ต่อระบบต่างๆ ของร่างกายในระยะที่มีการปรับตัวแล้ว

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

- มีการลดลงของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก
- การไหลเวียนของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น
- ลดความดันโลหิต
- เพิ่มปริมาณเลือด (blood volumn) และ hemoglobin
- ลดอัตราการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ

ระบบหายใจ

- เพิ่มปริมาตรของปอด (lung volumn)
- ความจุปอด (vital capacity) เพิ่มขึ้น
- เพิ่ม maximal minute ventilation ขณะออกกำลังกาย
- กล้ามเนื้อทรวงอกแข็งแรงขึ้น
- ประสิทธิภาพการไอดีขึ้น
- อัตราส่วนพื้นที่การแลกเปลี่ยนก๊าซ และเลือดดีขึ้น ทำให้ความสามารถในการแลกเปลี่ยน
ก๊าซ (diffusion capacity) ดีขึ้น

                                                                      ระบบประสาท

ในขณะออกกำลังกายจะมีการเพิ่มอัตราการส่งกระแสประสาทมายังกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ เป็นการกระตุ้นการรับรู้และสั่งงานของระบบนี้ จะช่วยทำให้มีการตื่นตัว และมีการทำงานประสานกันได้ดีขึ้น

ระบบทางเดินอาหาร

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าออกกำลังกายหนักมากขึ้นกระเพาะอาหารอาจทำงานน้อยลง หรือหยุดทำงาน เพื่อให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ในการออกกำลังกายก่อน
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น