วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise)
การออกกำลังเพื่อเพิ่มพิสัยของข้อ (range of motion exercise)
เมื่อแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้เคลื่อนไหวมักจะมีการติดของข้อเกิดขึ้น จากการหดสั้นของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรอบๆข้อ มีการเพิ่มของcollagen และ reticulin ในเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ร่วมกับการหล่อลื่นของข้อลดลง มีการเปลี่ยนแปลงความหนืดของข้อ ซึ่งการยึดติดนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการออกกำลัง
การออกกำลังเพื่อวัตถุประสงค์นี้ แบ่งได้เป็น 4 วิธี คือ
1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยเป็นผู้ออกกำลังเคลื่อนไหวข้อด้วยตนเอง
2. Active assistive exercise ให้ผู้ป่วยออกกำลังด้วยตัวเองให้มากที่สุด แล้วจึงช่วยให้เคลื่อนไหวจนสุดพิสัยของข้อ
3. Passive exercise กรณีผู้ป่วยไม่มีกำลังเคลื่อนไหวข้อ ให้ผู้บำบัดเป็นผู้ขยับเคลื่อนไหวข้อให้เอง
4. Passive stretching exercise ผู้บำบัดช่วยดัดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว
การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและคงทน (exercise for strength and endurance)
ความแข็งแรง (strength) ของกล้ามเนื้อ หมายถึงแรงตึงตัว (tension) สูงสุดที่กล้ามเนื้อทำได้ในการหดตัว ความคงทน (endurance) คือความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะหดตัวทำงานได้เป็นเวลานานหรือคือความทนทานในการทำงานการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและคงทน จะทำได้โดยให้ผู้ป่วยออกแรงทำเอง (activeexercise) ซึ่งสามารถทำได้ใน 3 รูปแบบคือ isometric, isotonic, isokinetic โดยถ้าต้องการเพิ่มความแข็งแรงต้องออกกำลังโดยให้กล้ามเนื้อหดตัวด้วยแรงสูงสุด หรือเกือบสูงสุด ในขณะที่จำนวนครั้งอาจไม่มากนัก แต่ถ้าต้องการเพิ่มความคงทนต้องออกกำลังโดยใช้แรงต้านน้อย และจำนวนครั้งมาก
การออกกำลังเพื่อผึกการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ (coordination exercise)
การที่กล้ามเนื้อจะทำงานประสานกันได้ดีราบรื่น ต้องอาศัยการทำงาประสานกัน 3 ระดับ คือระดับสมองและระบบประสาท ระดับกลุ่มของกล้ามเนื้อ และระดับ motor unitหลักการฝึกจะเริ่มตั้งแต่การฝึกกล้ามเนื้อแต่ละมัด หรือเรียกว่า muscle reeducation เป็นการฝึกในระยะแรก เมื่อทำได้ดีแล้วจึงทำการฝึกต่อในขั้นถัดไป คือ neuromuscular coordination ซึ่งมีรายละเอียดในวิธีการฝึกมากมายหลายวิธี
การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย (relaxation exercise)
ใช้ในรายที่มีอารมณ์ตึงเครียด หรือมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด หลักการต้องจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่สบายและผ่อนคลายที่สุด จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพัก ไม่มีสิ่งรบกวนหรือกระตุ้น ผู้บำบัดจะสอนให้เรียนรู้การผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงแข็ง และให้ทราบความรู้สึกที่แตกต่างกันระหว่าง ความตึงเครียดกับการผ่อนคลาย ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เต็มที่ และสามารถบังคับได้แม้ในภาวะแวดล้อมที่ต่างกันออกไป หรืออาจใช้เครื่องมือทางไฟฟ้ามาช่วยในการฝึกก็ได้ ได้แก่ biofeedback

1 ความคิดเห็น:

  1. 3d titanium helix earrings & accessories | Etsy
    3D Titanium Helix Earrings & Accessories | Etsy. 4.8 Million Ratings. More titanium nose stud items you titanium rod in femur complications will love. 3D columbia titanium Titanium ceramic vs titanium curling iron Helix Earrings & Accessories | Etsy. 4.8 Million Ratings. More items you will love. titanium anodizing

    ตอบลบ