วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของการออกกำลังกาย


การแบ่งประเภทของการออกกำลังกายสามารถแบ่งได้หลายแบบ ดังนี้

แบ่งตามลักษณะของการใช้พลังงาน
1. Anaerobic exercise เป็นการออกกำลังกาย ซึ่งใช้พลังงานแบบที่ไม่ใช้ออกซิเจน
2. Aerobic exercise เป็นการออกกำลังกายที่ใช้พลังงานโดยอาศัยออกซิเจน

แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ของข้อและกล้ามเนื้อ
1. Isometric exercise เป็นการออกกำลังกายโดยไม่มีการเปลี่ยนความยาวของกล้ามเนื้อ และไม่มีการเคลื่อนที่ของข้อ
2. Isotonic exercise เป็นการออกกำลังโดยมีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ และมีการเคลื่อนที่ของข้อ โดยแรงต้านทานคงที่ ซึ่งมี 2 แบบ คือ
a. ชนิดที่กล้ามเนื้อหดตัวขณะเกร็งสู้แรงต้านทาน (concentric)
b. ชนิดที่ที่กล้ามเนื้อมีการยืดตัวขณะเกร็งสู้แรงต้านทาน (eccentric)
3. Isokinetic exercise เป็นการออกกำลังโดยมีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ และมีการเคลื่อนที่ของข้อ โดยมีความเร็วในการเคลื่อนไหวของข้อคงที่ และให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อสูงสุดตลอดเวลา

แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการออกกำลังเพื่อการรักษา (Therapeutic exercise)
1. ออกกำลังเพื่อเพิ่มพิสัยของข้อ (range of motion exercise)
2. ออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคงทน (exercise for strength and endurance)
3. ออกกำลังเพื่อเพิ่มความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อ (coordination exercise)
4. ออกกำลังเพื่อการผ่อนคลาย (relaxation exercise)

แบ่งตามผู้ออกแรง
1. active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงทำเองทั้งหมด มักใช้ในกรณีที่ไม่มีการติดของข้อ
2. passive exercise ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ โดยจะมีผู้บำบัดหรือเครื่องมือช่วยในการเคลื่อนไหวข้อมักจะใช้การออกกำลังแบบนี้ในกรณีที่พิสัยของข้อปกติ แต่ผู้ป่วยไม่มีแรงที่จะขยับข้อได้เองหรือ ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
3. active assistive exercise ให้ผู้ป่วยทำเองให้มากที่สุด แล้วจึงใช้แรงจากภายนอกช่วยให้เคลื่อนไหวจนครบพิสัยของข้อ มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยอ่อนแรง
4. passive stretching exercise ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แล้วใช้แรงจากภายนอกดัดข้อให้ยืดออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น